วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

มารู้จักกับภาษาเจ๊ะเห

ภาษาเจ๊ะเห

วัดพิทักษ์แผ่นดิน ถิ่นปลากุเลาเลื่องชื่อ ภาษาเจ๊ะเหเลื่องลือ ตากใบคือประตูสู่อาเซียน :D               
           สวัสดีค่ะ ทุกคนวันนี้เรามาพบกันในรูปแบบใหม่ที่แทบจะไม่มีใครรู้จักเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ เราจะใช้คำพูดใหม่ที่บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่ออะไรเอ่ย ตอบให้เลยละกัน คือว่า เจ้าของบล็อกเป็นคนอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อืมมม ปกติแล้วจะพูดภาษาที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักเลย นั่นก็คือ แท่นแท่นแทนนน ภาษาเจ๊ะเหนั่นเอง อะแหน่ งง กันละสิว่ามันคือภาษาอะไร ก็เห็นนราธิวาสก็ภาคใต้หนิ่แล้วทำไมถึงพูดภาษานี้กัน เดี๋ยวเรามาดูกันเลยว่า ภาษาเจ๊ะเห คืออะไรกันมาดูกันเลยค้ะ
............................................................................................................

          ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่ง ที่พูดกันมากตั้งแต่อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีของจังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมถึงในเขตอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนราธิวาสด้วย นอกจากนี้ ภาษาเจ๊ะเห ยังใช้พูดกันในกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันของมาเลเซียด้วย ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ มีการคำที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปค่อนข้างมากคำพูดและสำเนียงภาษาได้สร้างความพิศวงแก่ชาวใต้ด้วยกันเองรวมไปถึงชาวไทยกลุ่มอื่นด้วย คือสำเนียงพูดเสียงชาวใต้ผสมกับภาษากับภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่นถ้าชาวตากใบถามว่ามาทำไม เขาจะพูดว่า "มาเยียได" ปลายประโยคทอดเสียงยาวว่า "มาเยียด้าย"


มาแลตัวอย่างกั๋นตัวอย่างคำ
---------------------------------------------------------------------------------
อังกะปั๋ง              แปลว่า งง
ยะรัง                   แปลว่า ป่วย ป่วยไข้
ฝากบ่าว              แปลว่า การหมั้น
อีหละ                  แปลว่า เกี้ยวพาราสี
กล้วยหลา           แปลว่า มะละกอ (ที่อำเภอสายบุรีเรียก กล่วยหล่า)
ดอกไม้จันทน์      แปลว่า ดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม
ข้าวกระหยา        แปลว่า ข้าวยำ
แม่กระดอก         แปลว่า โสเภณี
แกแหร                แปลว่า มะม่วงหิมพานต์
                                       (ที่อำเภอสายบุรี เรียกแต๋แหร๋)

จี้ไปเรไหน          แปลว่า จะไปเที่ยวที่ไหน (จี้ = จะ , เร = เที่ยว)
ก่ะหรัด                แปลว่า มาก เช่น ของพวกนี้แพงกะหรัด
                                       (ของเหล่านี้แพงมาก)

จีใด๋ หรือ ยี่ใด๋     แปลว่า ทำไม เช่น จีใด๋ (ยี่ใด๋) เท่ม่ายห้อนจำ
                                       (ทำไมที่ไม่เคยจำ)

ผ๋ะไหน๋               แปลว่า ยังไง เช่น ผะไหน๋เท่ม่ายโร้จักเท่จี่แล
                                      (ทำไมไม่รู้จักที่จะดู)

วิมัง                    แปลว่า เป็นห่วง เช่น สาวิมังพี่น้องเท่โย้ปาหละ
                                      (รู้สึกเป็นห่วงญาติที่อยู่ปาลัส)

ค๊ะแนแน            แปลว่า วงศาคณาญาติ
โย้                      แปลว่า อยู่
ม่ายไหร๋             แปลว่า ไม่เป็นไร
ม่ายโร้                แปลว่า ไม่รู้
ห่าม่าย               แปลว่า ไม่มี
ล่ะหมี๋ หรือล่ะมิ  แปลว่า หรือยัง เช่น กินข้าวละหมี๋? (กินข้าวหรือยัง)
ระแห้ก               แปลว่า ขาด
เริน                     แปลว่า บ้าน
เพละ                  แปลว่า บูดู (ภาษาเก่าคนไม่นิยมใช้แล้ว)
ต่ะหลาด             แปลว่า ตลาด
ท่าคลอง             แปลว่า ฝั่งคลอง
ห๊าดเล                แปลว่า ทะเล
ยาม                    แปลว่า นาฬิกา
กลด                    แปลว่าร่มดอย แปลว่า ตาย เช่น ดอยแล้ว
                                      (ตายแล้ว) นอนดอย (นอนตาย)



คำที่ใช้ทั่วไป

---------------------------------------------------------------------------------
การบอกทิศ
---------------------------------------------------------------------------------
ท่าต่ะอ๊อก แปลว่า ทิศตะวันออก
ท่ากะเตาะก (ต.เต่า สระเอาะ ก.ไก่) แปลว่า ทิศตะวันตก
ท่าหัวนอน แปลว่า ทิศใต้ (นิยมนอนหันหัวไปทางทิศใต้)
ท่ากะตีน แปลว่า ทิศเหนือ (นิยมนอนหันเท้าไปทางทิศเหนือ)
                           

---------------------------------------------------------------------------------

คำศัพท์ที่ใช้เรียกผลไม้
---------------------------------------------------------------------------------
ยะหนัด              แปลว่า สับปะรด
กล้วยหลา         แปลว่า มะละกอ (ที่อำเภอสายบุรี เรียกกล่วยหล่า)
ซะหว่า              แปลว่า ละมุด
กาหยี๋                แปลว่า ลูกหยี๋
ย่ามู                   แปลว่า ชมพู่
ชมโพ่               แปลว่า ฝรั่ง
ข้าหนุน             แปลว่า ขนุน
กะไต๋                แปลว่า สะตอ
คะเนียง            แปลว่า ลูกเนียง
กะไต๋เบา          แปลว่า กระถิน
โลกขาม           แปลว่า มะขาม
ทะเรียน            แปลว่า ทุเรียน
แตงจีน             แปลว่า แตงโม
แตงใส่ปริ         แปลว่า แตงไทย
ลูกพรวน          แปลว่า เงาะ
ลูกปีหนี           แปลว่า มะมุด
โลกมู              แปลว่า ชมพู่ และ ฝรั้ง (สุไหงปาดี)พ่อท่าน

---------------------------------------------------------------------------------

คำศัพท์เกี่ยวกับวัด

---------------------------------------------------------------------------------พ่อท่าน           แปลว่า เจ้าอาวาส
พ่อหลวง         แปลว่า เรียกพระสงฆ์ ที่อายุน้อยกว่าผู้เรียก
กะเต๊ะ             แปลว่า กุฏิเจ้าอาวาส


---------------------------------------------------------------------------------
คำเท่มาจากภาษามาลายู

---------------------------------------------------------------------------------
กะปะ แปลว่า ขวาน

โตหนัน แปลว่า คู่หมั้น

บีดัน แปลว่า หมอตำแย

บือจั๋น แปลว่า กะปิ

ยามู แปลว่า ชมพู่

คง หรือยะคง แปลว่า ข้าวโพด

ลือโปะ แปลว่า ทุเรียนกวน

สือหลุด แปลว่า ดินโคลน

มูสัง แปลว่า ชะมด

ตะหวาก แปลว่า กะแช่

ดอดอย แปลว่า กะละแม (ชาวใต้ทั่วไปเรียกว่า ยาหนม)

กือนี แปลว่า กาน้ำ

ชันชี แปลว่า สัญญา

บือเกา แปลว่า ยาเส้น (มาจากคำว่า บาเกา)



ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/PhasaCeAHe
https://sites.google.com/site/looksomz

บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งความรู้ เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมทางภาษา/ความรู้การใช้งานโปรแกรม Infographic/นวนิยายเรื่องสั้น อีกทั้ง รวบรวมเรื่องราวกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความสนใจใหม่ๆ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย